วันพฤหัสบดี, 05 ธันวาคม 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

กองทัพดินเผาจิ๋นซีฮ่องเต้

 

              เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2530 แหล่งโบราณคดีนี้มีชื่อว่า สุสานฉินสื่อหวง (Qin Shihuang Mausoleum) ซึ่งเป็นสุสานของจักรพรรดิฉินที่ 1 แห่งราชวงศ์ฉินผู้สร้างกำแพงเมืองจีน หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของ “จิ๋นซีฮ่องเต้” สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยฉินสื่อหวง ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 38 ปี คือระหว่างปี 246-208 ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 2,200 กว่าปีมาแล้ว สุสานแห่งนี้มีเนื้อที่ครอบคลุมทั้งสิ้น 2,180 ตารางกิโลเมตร มีทำเลที่ตั้งอยู่อิงบริเวณเขาหลีซาน บริเวณด้านหน้าของสุสานหันไปทางแม่น้ำเว่ยเหอ โดยเฉพาะทางทิศใต้ของเขาหลีซานอุดมไปด้วยสินแร่ทองคำ ส่วนทางทิศเหนือก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่หยก ดังนั้นฉินสื่อหวงจึงทรงเลือกชัยภูมิที่มีฮวงจุ้ยอันดีเลิศนี้ เพื่อเป็นสุสานสำหรับฝังพระบรมศพของพระองค์เอง โดยมีสุสานกองทัพดินเผาอยู่ห่างจากสุสานฉินสื่อหวงราว 1.5 กิโลเมตร ทั้งหมดถูกฝังอยู่ภายใต้ผืนแผ่นดินจีน พร้อมกับพระบรมศพของฉินสื่อหวง (วิกิพีเดีย)

 

  

                  ผมขอเข้าสู่ประเด็นในส่วนของสุสานกองทัพดินเผา (Qinshihuang Terra-Cotta Army) ซึ่งคำว่า terra-cotta นั้นเป็นภาษาอิตาเลียน หมายถึงดินเผา (baked earth) หรือมาจากภาษาลาตินหมายถึงเครื่องดินเผา (earthenware) สุสานกองทัพนี้ปั้นจากดินเหนียวเป็นรูปหุ่นทหารและหุ่นม้าขนาดเท่าตัวจริงแล้วเผาและจัดเรียงเป็นกองทัพซึ่งจนถึงปัจจุบันได้ขุดค้นพบไปแล้วจำนวน 8,099 ชิ้น และอยู่ระหว่างการขุดค้นเพิ่มเติมต่อไปอย่างต่อเนื่อง รูปปั้นกองทัพดินเผาเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อพิทักษ์องค์จักรพรรดิฉินสื่อหวงหลังการสวรรคตปัญหาที่นักโบราณคดีให้ความสนใจก็คือ ดินเหนียวที่ใช้ในการปั้นนี้มาจากกี่แหล่งและนำมาจากแหล่งใดบ้าง


               นักโบราณคดีจาก Chinese Academy of Science ได้นำชิ้นตัวอย่างดินเผาของกองทัพทหารและม้าไปวิเคราะห์ทางเรณูวิทยา เพื่อศึกษาองค์ประกอบของละอองเกสรของพืชในเนื้อของดินเผา โดย Ya-Qin Hu และคณะ ได้ค้นพบละอองเกสรหลายชนิดจากหุ่นดินเผาของม้า ทั้งหมดมาจากไม้ยืนต้น เช่น ละอองเกสรของสนไพน์ สลัดได หม่อน และแปะก๊วย ขณะที่ในหุ่นดินเผาของเหล่าทหารนั้นพบละอองเกสรของพืชล้มลุกจำพวกมัสตาร์ดและกะหล่ำปลี ชิงเฮาหรือโกฐจุฬาลำพา ควินหวา บีทรูท ชาร์ด และปวยเหล็ง

               Hu และคณะได้สรุปผลงานวิจัยนี้ว่า หุ่นดินเผาของม้ารวมถึงส่วนของขาที่เรียวยาวของมันที่ง่ายต่อการแตกหักจากการขนย้ายนั้นถูกสร้างขึ้นจากโรงเผาที่ไม่ไกลจากสุสานมากนัก ขณะที่หุ่นทหารนั้นปั้นจากดินเหนียวจากแหล่งที่ห่างไกลออกไป      นับได้ว่า เรณูวิทยา (palynology) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญโดดเด่นไม่เฉพาะเพื่อการศึกษาทางโบราณคดีเท่านั้นแต่รวมถึงทางด้านธรณีวิทยาด้วย ซึ่งสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ได้บรรจุวิชาเรณูวิทยาไว้ในร่างหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบรรพชีวินวิทยาไว้ด้วย อาจพร้อมเปิดสอนได้ในปีการศึกษา 2556 นี้ จริงๆ แล้วเรณูวิทยาไม่ได้ศึกษาเฉพาะละอองเกสรเท่านั้น แต่ยังรวมถึง สปอร์ สาหร่ายเซลล์เดียว  อาร์คิตาร์ช ไดโนแฟก-เจลเลตซีสต์ ไคตินโนซัว และอนุภาคของอินทรียวัตถุอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากในการศึกษาสภาพแวดล้อมบรรพกาล ประวัติวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมของการตกสะสมตัวของตะกอนละอองเกสรของพืช จากเนื้อเศษชิ้นส่วนตัวอย่างรูปปั้นดินเผา ทำให้ทราบว่ารูปปั้นนักรบและรูปปั้นม้านั้นปั้นจากดินเหนียวจากแหล่งที่แตกต่างกัน

 

แหล่งอ้างอิง : 
                Hu Y-Q., Zhang Z-L., Bera S., Ferguson D.K., Li C-S., Shao W-B.,Wang Y-F. 
                            (2007) What can pollen grains from the Terracotta Army tell us? Journal 
                            of Archaeological Science 34(7): 1153-1157.

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 1 ฉบับที่ 5  ประจำเดือนธันวาคม 2555