วันพฤหัสบดี, 05 ธันวาคม 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

บรรพบุรุษของเรา

 

                เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ 

               เมื่อกล่าวถึงต้นกำเนิดของมนุษย์ เรามักนึกถึงสมมุติฐาน เรื่องการออกจากแอฟริกา (Out of Africa) ที่ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ได้กำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริกา และต่อมาได้อพยพไปยังพื้นที่อื่นๆ ของโลก แต่สมมุติฐานนี้ก็หาได้ศักดิ์สิทธิ์หรือแตะต้องมิได้แต่อย่างใด เพราะถูกท้าทายด้วยหลักฐานการค้นพบฟอสซิลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ล่าสุดนี้ได้ถูกสั่นคลอนด้วยการค้นพบฟอสซิลของแอนโธรพอยด์ (Anthropoid) ในพม่า การค้นพบใหม่นี้กลับไปสนับสนุนสมมุติฐานเก่าแก่ที่เกือบจะถูกหลงลืมไปแล้ว เรื่องการออกจากเอเชีย (Out of Asia) ที่ว่าบรรพบุรุษของเรามีต้นกำเนิดในเอเชียก่อนที่อื่นๆ ขอทำความเข้าใจสักนิดก่อนนะคะ ว่าแอนโธรพอยด์ที่เรากำลังพูดถึงนี้ เป็นบรรพบุรุษที่ห่างไกลเราค่อนข้างมาก หาได้เป็นบรรพบุรุษใกล้ชิดกับ มนุษย์แบบ “ลูซี่” (Australopithecus afarensis) ที่มีอายุประมาณ 3.2 ล้านปีนะคะ แต่แอนโธรพอยด์โบราณเป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งในลำดับไพรเมต ที่มีอายุเก่าแก่เกือบ 40 ล้านปีก่อน มันเป็นบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์อย่างเรากับอุรุงอุตัง กอริลลา ชะนี และลิงมีหางอื่นๆ ค่ะ

               ฟอสซิลของแอนโธรพอยด์ยุคแรกๆ ถูกค้นพบในประเทศอียิปต์ มีอายุประมาณ 30 ล้านปีก่อน นั่นจึงเป็นที่มาของความเชื่อว่ามันกำเนิดในแอฟริกา หลังจากนั้นเริ่มมีการค้นพบซากของลิงจิ๋วที่อายุเก่าแก่กว่า (37- 45 ล้านปีก่อน) ในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะในจีน พม่าและประเทศอื่นๆ ของทวีปเอเชีย การค้นพบหลังๆ นี้ชี้ว่า เป็นไปได้ที่แอนโธรพอยด์อาจกำเนิดขึ้นในเอเชียก่อนแล้วอพยพไปแอฟริกาทีหลัง แต่ยังไงก็ยังค้างคาใจนักบรรพชีวินวิทยาอยู่ดี เพราะยังไม่มีหลักฐานฟอสซิลแน่ชัดที่จะแสดงว่าแอนโธรพอยด์เหล่านี้ละทิ้งเอเชียไปแอฟริกาเมื่อใดและอย่างไร จนในปี ค.ศ. 2005 คริสโตเฟอร์ เบียร์ด นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคาเนกี้ และทีมนักวิจัยนานาชาติ ได้พบฟอสซิลของปลาโบราณ เต่า และฟันของบรรพบุรุษฮิปโปจากแหล่งฟอสซิลซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเก่าแก่ใกล้หมู่บ้านเนืองพินเล (Nyaungpinle)ในประเทศพม่า และที่สำคัญได้มีการพบฟันกรามของลิงแอนโธรพอยด์โบราณสายพันธุ์ใหม่ ฟันกรามที่พบมีขนาดประมาณเมล็ดข้าวโพดคั่ว มีอายุประมาณ38 ล้านปีก่อน น่าจะมีขนาดตัวใกล้เคียงกับกระรอก จากการทำงานภาคสนามในประเทศพม่าอย่างยากลำบากถึง 6 ปี ทีมวิจัยสามารถเก็บตัวอย่างของลิงแอนโธรพอยด์นี้ได้เพียงฟันกราม 4 ซี่ ซึ่งตอนหลังพวกเขาตั้งชื่อให้ว่า “แอเฟรเชีย ชิจิเด” (Afrasia djijidae)

               
               จากหลักฐานฟันกราม 4 ซี่นี้ ทำให้นักวิจัยเห็นว่า Afrasia มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับแอนโธรพอยด์โบราณอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในเวลาใกล้เคียงกันแต่ต่างทวีป นั่นคือ “แอโฟรทาร์เซียส ลิบิคัส” (Afrotarsius libycus) จากประเทศลิเบีย ทวีปแอฟริกา ลักษณะฟันของแอนโธรพอยด์สองชนิดนี้คล้ายคลึงกันมาก ทั้งขนาด รูปร่าง และอายุ ซึ่งพิจารณาคร่าวๆ อาจจะคิดว่ามันเป็นสายพันธุ์เดียวกัน  แต่เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น ทีมวิจัยก็สังเกตพบว่าฟันกรามของ Afrasiaจากเอเชีย มีลักษณะที่เก่าแก่กว่าฟันกรามของ Afrotarsius จากแอฟริกา   ลักษณะที่โบราณกว่าของฟัน บวกกับอายุที่เก่าแก่กว่าของ Afrasia จากเอเชีย จึงถูกใช้เป็นหลักฐานล่าสุดที่ชี้ว่ารากของแอนโธรพอยด์น่าจะอยู่ในเอเชียมากกว่าแอฟริกา


ที่มาภาพ : http://www.labgrab.com/users/jeffrey-serrill/blog/afrasia-djijidae-fossils-reveal-asian-not-african-origin-early-primates_i

 

ในยุคนั้นทวีปแอฟริกาและเอเชียแยกจากกันด้วยทะเลที่กว้างกว่าทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปัจจุบัน เราเรียกทะเลโบราณนี้ว่า “ทะเลเทธีส” (Tethys Sea) จึงเกิดคำถามว่าแล้วแอนโธรพอยด์ในยุคนั้นอพยพจากเอเชียไปแอฟริกาได้อย่างไร? ฌอง-ฌาคส์ เจเกอร์ หัวหน้าทีมวิจัย มีข้อสันนิษฐานต่อประเด็นนี้ว่า แอนโธรพอยด์ในยุคแรกนั้นอาจว่ายข้ามทะเลจากเกาะสู่เกาะ และออกจากเอเชียมาจนถึงแอฟริกา หรืออาจจะล่องแพไปพร้อมซุงโดยการพัดพาของธรรมชาติ นอกจากนั้นยังพบว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ ก็อพยพจากเอเชียไปยังแอฟริกาในช่วงเวลาใกล้เคียงกันด้วย
                 หลังจากที่แอนโธรพอยด์ในยุคแรกเดินทางสู่แอฟริกา สัตว์ชนิดเดียวกันที่ยังหลงเหลืออยู่ในทวีปเอเชียก็ล้มตายลงจนหมดสิ้น โดย ฌอง-ฌาคส์ เจเกอร์ ให้เหตุผลว่า เมื่อราวๆ 34 ล้านปีก่อนนั้น มีธารน้ำแข็งขนาดมหึมาที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเย็นจัดและส่งผลกระทบต่อเอเชียมากกว่าแอฟริกา วิกฤตดังกล่าวได้กวาดล้างแอนโธรพอยด์ดั้งเดิมในเอเชียไปจนหมดสิ้น ส่วนแอนโธรพอยด์ที่เราพบในเอเชียปัจจุบันนี้ อย่างชะนีหรืออุรังอุตังนั้นเพิ่งอพยพมาจากแอฟริกาเมื่อประมาณ 20 ล้านปีก่อนนี้เอง 
                 ในที่สุด สมมุติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับผ่านวันเวลา ก็ขึ้นอยู่กับความหนักแน่นของหลักฐานใหม่ๆ ที่มาสนับสนุนรวมทั้งความน่าเชื่อถือของเหตุผล ...เรามารอดูกันต่อไปนะคะ


แหล่งข้อมูล
 :
1.   Chaimanee, Y., et al. Late Middle Eocene primate from Myanmar and the initial anthropoid 
              colonization of Africa. PNAS. June 4, 2012.
2.   Jeffrey Serrill, Afrasia djijidae discovery reveals an Asian, not African, origin of early 
              primates. http://www.labgrab.com/users/jeffrey-serrill/blog/afrasia-
              djijidae-fossils-reveal-asian-not-african-origin-early-primates_i
3.   Ann Gibbons. An Asian Origin for Human Ancestor http://news.sciencemag.org/
              sciencenow/2012/06/an-asian-origin-for-human-ancest.html?        

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 2 ฉบับที่  6 ประจำเดือนมิถุนายน 2556