วันพฤหัสบดี, 05 ธันวาคม 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

ช่องว่างแห่งสายใย

 

               ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทความนี้ด้วย ผมก็เลยเลือกใช้คำว่า “ช่องว่างแห่งสายใย”                   
              ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกของธรรมชาติ (Origin of Species by Means of Natural Selection) และได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1859 ได้พลิกโลกพลิกสวรรค์คัดค้านคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Bible) ที่ได้รับการเชื่อถือกันมาหลายพันปีโดยชาวยิวและต่อเนื่องมาจนถึงชาวคริสต์และชาวมุสลิมจนถึงปัจจุบัน โดยชาลส์ ดาร์วิน ได้เสนอว่าสิ่งมีชีวิตมีการวิวัฒนาการจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง (speciation) อย่างต่อเนื่องจากเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันโดยการคัดเลือกของธรรมชาติ แถมชาลส์ ดาร์วิน ยังเสนอด้วยซ้ำไปว่า “มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากลิง” ฟังแล้วขนหัวลุกครับ

 

               ในการจะสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน นั้น จำเป็นจะต้องเรียงลำดับสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ได้ ซึ่งในยุคสมัยของชาลส์ ดาร์วินนั้นได้มีการกล่าวขานกันอย่างกว้างขวางว่าไดโนเสาร์ได้วิวัฒนาการไปเป็นนกแต่ก็มีผู้คัดค้านอย่างกว้างขวางเช่นกัน สองปีถัดมาได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ประหลาดที่สมบูรณ์ชิ้นหนึ่งที่เหมืองหินแห่งหนึ่งในเยอรมนีซึ่งมีลักษณะที่ก้ำกึ่งระหว่างไดโนเสาร์กับนกพอดี จนมีการกล่าวหากันว่าเป็นการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน โดยพยายามสร้างหลักฐานเพื่อเติมเต็มช่องว่างแห่งสายใย    อย่างไรก็ตามซากดึกดำบรรพ์ชิ้นนี้ ก็ได้รับการตั้งชื่อว่าอาร์คีออฟเทอริกซ์ (Archaeopteryx lithographica) จนถึงปัจจุบันทฤษฎีวิวัฒนาการถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางและถูกบรรจุไว้ในบทเรียนทางชีววิทยาระดับต่างๆ

 

 

 

 

 

               แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นหาช่องว่างแห่งสายใยกันอย่างเอาเป็นเอาตายก็คือ ช่องว่างสายใยระหว่างอนินทรียสารกับอินทรียสารกันมาช้านาน เพื่อที่จะอุดช่องว่างระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตให้ได้

               จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยอีโมรี ในสหรัฐอเมริกา  ได้มีการค้นพบว่าโมเลกุลอย่างง่ายของสารเปปไตด์สามารถพัฒนาก่อให้เกิดแผ่นเนื้อเยื่อคู่ขึ้นได้ โดยนักวิทยาศาสตร์สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการดังกล่าวได้อย่างสมเวลาจริง (real time) ด้วย และแผ่นเนื้อเยื่อคู่จากสารเปปไทด์ดังกล่าวอาจพัฒนาไปเป็นสารเชิงซ้อนมากขึ้นก็ได้อย่างเช่น โปรตีน งานวิจัยดังกล่าวถือว่าเป็นการวิจัยวิวัฒนาการทางเคมี (chemical evolution) ที่อาจถือได้ว่าเป็นการอุดช่องว่างสายใยแห่งวิวัฒนาการจากสิ่งไม่มีชีวิตไปเป็นสิ่งมีชีวิตก็ได้ถึงจุดนี้ ผมมีคำถามส่วนตัวครับว่า แล้วการวิวัฒนาการจากสิ่งไม่มีชีวิตไปเป็นสิ่งมีชีวิตนั้น ตลอด 4.5 พันล้านปีที่ผ่านมานั้นมันเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือ มันจะเกิดขึ้นเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน หรือมากครั้งกว่านี้ไม่ได้หรือ นี่อาจถือเป็นช่องว่างแห่งสายใยอันใหม่ก็ได้ครับ

 

แหล่งข้อมูล
            
1.   http://www.dailygalaxy.com/my_weblog/2010/05/scientist-discover-
                 missing-link- between-organic-and-inorganic-life.html 
            2.  http://www.mhhe.com/biosci/esp/2001_saladin/folder_structure/le/m1/s3/