วันพฤหัสบดี, 05 ธันวาคม 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

อาร์คีออบเทอริกซ์แห่งเบอร์ลิน

 

               เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซมและขยายพื้นที่ แต่โชคดีมากค่ะ ที่ยังสามารถเข้าชมฟอสซิลชื่อเสียงก้องโลกที่ตั้งใจไว้จนได้ เลยนำมาเล่าสู่กันในคอลัมน์ซากไม่ซ้ำซากฉบับนี้ค่ะท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินชื่ออาร์คีออบเทอริกซ์มาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ  มันเป็นฟอสซิลโด่งดังที่ขุดพบจากชั้นหินปูนใกล้เมือง Solnhofen ประเทศเยอรมนี ในยุคจูราสซิกตอนปลาย อาร์คีออบเทอริกซ์ถูกอ้างถึงในหลายสถานะ เช่น นกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก หรือบรรพบุรุษทางวิวัฒนาการของนกปัจจุบันทั้งปวง หรือกระทั่งสัตว์ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากไดโนเสาร์เทอโรพอดไปเป็นนก เป็นต้น  ในบรรดาตัวอย่างฟอสซิลอาร์คีออบเทอริกซ์ที่รู้จักกัน 10 ชิ้นตัวอย่างและกระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ นั้น ชิ้นตัวอย่างที่จัดแสดงอยู่ที่เบอร์ลินถือว่าเป็นชิ้นที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุดก็ว่าได้ เพราะปรากฏลักษณะของขนชัดเจน อีกทั้งกะโหลกก็อยู่ในสภาพสมบูรณ์

 

               ฟอสซิลชิ้นนี้ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1874 (พ.ศ. 2417) ที่ Blumenberg ใกล้ Eichstätt ประเทศเยอรมนี โดยชาวนาชื่อ Jacob Niemeyer อีก 2 ปีต่อมา เขาได้ขายเพื่อเอาเงินไปซื้อวัวตัวหนึ่งในราคาประมาณ 150 มาร์คเยอรมัน แล้วมันก็ถูกขายต่อไปให้กับ Ernst Häberlein แห่ง Pappenheim ในราคา 2,000 มาร์คเยอรมัน จนในที่สุด นักอุตสาหกรรมมีชื่อเสียง ชื่อ Werner Von Siemens (ผู้ก่อตั้งบริษัท siemens) ก็ได้ซื้อให้กับพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยแห่งเบอร์ลินในราคา 2,000 มาร์คเยอรมัน ซึ่งต่อมารัฐปรัสเซีย (ในขณะนั้น) ก็ได้จ่ายเงินคืนให้กับเขาในปี ค.ศ. 1881 และ 1882 (พ.ศ. 2424, 2425) ต่อมาในปี ค.ศ.1897 (พ.ศ. 2440) Wilhelm Dames ได้ศึกษาและตั้งชื่อว่า Archaeopteryx siemensii  โดยชื่อคำหลังได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติตามชื่อของ W. Von Siemens

 

 

 

                               

      หลังจากระหกระเหินอยู่หลายสิบปี ในที่สุดฟอสซิลล้ำค่าชิ้นนี้ก็ได้รับการดูแลอย่างดีและจัดแสดงอยู่ที่เบอร์ลินจนถึงปัจจุบัน ใครมีโอกาสผ่านไป ก็อย่าลืมแวะไปชมนะคะ

 
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
                        http://en.wikipedia.org/wiki/Specimens_of_Archaeopteryx