วันอังคาร, 05 พฤศจิกายน 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

สยามโมดอน นิ่มงามมิ

 

               ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผยแพร่  ฉบับที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับอิกัวโนดอนต์โคราชไปแล้วหนึ่งชนิด นั่นคือ ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ ฉบับนี้อยากแนะนำอิกัวโนดอนต์โคราชอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเช่นกัน นั่นคือ สยามโมดอน นิ่มงามมิ  (Siamodon nimngami)  โดยฟอสซิลของ สยามโมดอน นิ่มงามมิ  ถูกพบที่บ้านสะพานหิน     ต.สุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา โดยพบชิ้นส่วนที่เป็นกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย และพบฟันบนขากรรไกร 1 ซี่ รวมทั้งพบกระดูกด้านท้ายทอยด้วย ขากรรไกรที่พบเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ความยาวด้านหน้ากับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน และมีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้มเป็นแถบแบน ลักษณะขากรรไกรบนของ สยามโมดอน นิ่มงามมิ  มีความคล้ายคลึงกับขากรรไกรบนของไดโนเสาร์ โปรแบคโตรซอรัส (Probactrosaurus) จากประเทศจีน มากที่สุด โดยพิจารณาจากลักษณะที่มีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้มที่เป็นแถบแบนเหมือนๆ กัน

             ฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์โคราชชนิดนี้พบในชั้นหินกรวดมนปนปูนของหมวดหินโคกกรวด   ซึ่งมีอายุอยู่ในยุคครีเท-เชียสตอนต้นหรือประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว

 ชื่อ สยามโมดอน นิ่มงามมิ นั้น ชื่อสกุล “สยามโมดอน” แปลว่า ฟันแห่งสยาม ส่วนชื่อเฉพาะชนิด “นิ่มงามมิ” ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณวิทยา นิ่มงาม ผู้ค้นพบฟอสซิลดังกล่าว

 

แหล่งข้อมูล : 
1. http://th.wikipedia.org/wiki/สยามโมดอน
2. Eric Buffetaut and Varavudh Suteethorn (2011).   "A new iguanodontian dinosaur 
           from the Khok Kruat Formation   (Early Cretaceous, Aptian) of northeastern 
           Thailand" Annales de Paléontologie 9 (1) : 51-62.

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556