วันพฤหัสบดี, 05 ธันวาคม 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

จระเข้โบราณ โคราโตซูคัส จินตสกุลไล

 

               สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แต่มันไม่ได้สูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์เพราะดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ลูกหลานของจระเข้ยังคงมีชีวิตรอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้  โดยปัจจุบันมีสัตว์จำพวกจระเข้อาศัยอยู่บนโลกเพียง 3 วงศ์ คือ จระเข้ ตะโขง และสุดท้ายคืออัลลิเกเตอร์และเคแมนค่ะ 


 

               มารู้จักประวัติของจระเข้กันสักหน่อยนะคะ สัตว์กลุ่มจระเข้เป็นสัตว์เลื้อย คลานที่มีบรรพบุรุษร่วมกับเทอโรซอร์ ไดโนเสาร์และนก บรรพบุรุษที่ว่านั้นเป็นสัตว์กลุ่มที่เรียกว่าอาร์โคซอร์ (Archosaurs) ซึ่งกำเนิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ยุคเพอร์เมียนตอนปลาย (ประมาณ 250 ล้านปีก่อน)  หลังจากนั้นได้แยกแขนงวิวัฒนาการออกเป็น 2 สาย ในยุคจูแรสซิกตอนปลาย (ประมาณ 220 ล้านปีก่อน) โดยสายหนึ่งเป็นสัตว์กลุ่มจระเข้ ส่วนอีกสายเป็นไดโนเสาร์และนกค่ะ 

                สัตว์กลุ่มจระเข้ในยุคโบราณไม่ได้มีลักษณะเหมือนปัจจุบันไปเสียทั้งหมดนะคะ มันมีขนาดและรูปร่างหลากหลายกว่าค่ะ บางชนิดก็เดินด้วย 2 ขา บางชนิดเดิน 4 ขา บางชนิดขายาวเพรียวลมจนสามารถวิ่งควบได้เลยทีเดียว บางชนิดกินพืช บางชนิดมีขนาดใหญ่จนล่าไดโนเสาร์มากินเป็นอาหารได้ 
                            
                 ความสามารถในหลายลักษณะของเผ่าพันธุ์จระเข้ยุคโบราณ ทำให้มันแพร่กระจายสายพันธุ์ครอบครองพื้นที่ได้กว้างขวางในยุคครีเทเชียสซึ่งเริ่มเมื่อราว 145 ล้านปีก่อน หลังจากนั้นมันยังสามารถเอาตัวรอดจากมหันตภัยที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลก

                 เป็นที่น่าภาคภูมิใจนะคะ ว่าในพื้นที่โคราชของเรา ก็พบหลักฐานความรุ่งโรจน์ของจระเข้ยุคโบราณด้วย เพราะเราพบฟอสซิลกะโหลกของจระเข้ยุค ครีเทเชียสตอนปลาย (เมื่อราว 100 ล้านปีก่อน) จากพื้นที่บ้านสะพานหิน     ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา วินิจฉัยได้ว่าเป็นจระเข้น้ำจืด ขนาดเล็ก หัวแบน ลำตัวยาวไม่เกิน 1.5 เมตร จากลักษณะฟันชี้ว่าน่าจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร

                จระเข้โบราณจากโคราชตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อโดย ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ชื่อว่า โคราโตซูคัส จินตสกุลไล (Khoratosuchus jintasakuli)  โดย Khorat คือ สถานที่พบฟอสซิล และ suchus แปลว่า จระเข้ ส่วน Jintasakuli ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้พบฟอสซิลชิ้นนี้

 

 

 

      กะโหลกของ โคราโตซูคัส จินตสกุลไล

 

ภาพจำลองของ โคราโตซูคัส จินตสกุลไล
วาดภาพโดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์

 

แหล่งข้อมูล
1. เมื่อชาละวันครองพิภพ. เนชันแนลจีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนมีนาคม 2553. 
2. Lauprasert, K., Cuny, G., Thirakhupt, K. & Suteethorn, V. 2009. Khoratsuchus jintasakuli 
            gen. et sp. nov., an advanced neosuchian crocodyliform from the Early Cretaceous 
            (Aptian – Albian) of NE Thailand. In: Buffetaut, E., Cuny, G., Le Loeuff, J. & 
            Suteethorn, V. (eds). Late Palaeozoic and Mesozoic Ecosystems in SE Asia. 
            Geological Society, London, Special Publication, 315: 175-187.