วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

นกเป็นลูกหลานของไดโนเสาร์จริงหรือ

 

            เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง นกที่ไม่น่ากลัวเลยซักนิด จะเป็นญาติกับไดโนเสาร์ได้อย่างไร... ถ้าจะลองมองหาลักษณะของไดโนเสาร์ซึ่งยังตกค้างหลงเหลืออยู่บ้างในลูกหลานกลุ่มนก อาจจะลองดูที่ไก่ เราจะเห็นว่าบริเวณช่วงขาและเท้าของไก่ยังมีผิวหนังเป็นเกล็ดเหมือนสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์ นักวิทยาศาสตร์ยังเคยพบไก่บางตัวมีตุ่มฟันปรากฏให้เห็น นั่นเพราะยีนฟันดั้งเดิมยุคที่ยังเป็นไดโนเสาร์ยังซ่อนอยู่ในไก่ เพียงแต่ยีนเหล่านั้นถูกกดทับไว้ด้วยกลไกวิวัฒนาการในระยะเวลาหลายสิบล้านปีที่ผ่านมา

       การศึกษาฟอสซิลมีบทบาทสำคัญในการไขข้อข้องใจนี้ ฟอสซิล จำนวนมากชี้ว่านกมี  วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่มเทอโรพอด ตัวอย่างเด่นชัดก็คือ การค้นพบซากอาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx) ที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1861 มีอายุอยู่ในยุคจูแรสซิก ครองตำแหน่งนกตัวแรกบนโลกมาอย่างยาวนาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นบรรพบุรุษทางวิวัฒนาการของนกทั้งปวง สิ่งที่ทำให้เชื่อเช่นนั้น เพราะมันมีลักษณะผสมผสานของทั้งนกและไดโนเสาร์เทอโรพอด ลักษณะที่เหมือนนก เช่น มีขนปกคลุมตัว มีปีก มีกระดูกรูปสองง่ามที่หน้าอก เนื้อกระดูกกลวงเบา ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่เหมือนไดโนเสาร์แต่ไม่เหมือนนกปัจจุบัน เช่น มีสามเล็บยื่นออกมาจากอุ้งมือ มีฟัน และมีกระดูกหางยาว เป็นต้น หลังจากนั้นก็มีการค้นพบฟอสซิลอีกจำนวนมากที่เป็นหลักฐานยืนยันถึงความเชื่อมโยงระหว่างไดโนเสาร์กับนกแต่ หากจะให้สรุปว่านกตัวแรกคือตัวใด หรือเส้นแบ่งระหว่างไดโนเสาร์ที่คล้ายนกกับนกที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ก็ยังเป็นข้อถกเถียงและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

 

 

  

            การถกเถียงล่าสุดเกิดเมื่อมีการค้นพบซากเซียวทิงเจีย เซ็งจิ (Xiaotingia zhengi)  ขนาดเท่าไก่ จากยุคจูแรสซิก ที่แคว้นเหลียวหนิง ทางตะวันตกของประเทศจีน ในปี 2011ถือเป็นการค้นพบที่สะเทือนตำแหน่งนกตัวแรกบนโลกของอาร์คีออปเทอริกซ์ ทีเดียว เพราะนักวิจัยชี้ว่า เซียวทิงเจีย เซ็งจิ มีลักษณะใกล้เคียงกับอาร์คีออปเทอริกซ์ มาก และควรจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน นั่นคือเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดกลุ่มที่เรียกว่า ไดโนนิโคซอร์ (Deinonychosaurs)เพราะนอกจากลักษณะมีขนและลักษณะอื่นๆ ที่เหมือนกันมากแล้ว ทั้ง เซียวทิงเจีย เซ็งจิ และอาร์คีออปเทอริกซ์ มีโพรงขนาดใหญ่อยู่บนกะโหลกหน้าดวงตา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไดโนเสาร์กลุ่มไดโนนิโคซอร์  โดยที่ไม่ปรากฏลักษณะนี้ในนกกลุ่มใดๆ เลย ดังนั้น เซียวทิงเจีย เซ็งจิ จึงถูกจัดให้เป็นคนละกลุ่มกับนกปัจจุบัน คำถามที่ตามมาก็คือ... ถ้าเซียวทิงเจีย เซ็งจิ ยังไม่ถือว่าเป็นนกแล้ว อาร์คีออปเทอริกซ์ จะยังถือเป็นนกอยู่อีกหรือไม่ ...รวมทั้งจะยังครองตำแหน่งนกตัวแรกบนโลกได้อยู่อีกหรือเปล่า...   

 

 

                 แม้คำตอบว่านกตัวแรกคือตัวใด... เกิดขึ้นเมื่อไหร่... ยังคงไม่แจ่มชัดและยังรอหลักฐานใหม่ๆ มาเพิ่มเติม แต่หลักฐานที่มีก็ชัดเจนพอจะยอมรับกันแล้วว่า นกเป็นลูกหลานที่วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์

 

แหล่งที่มา : 
1.     Matt McGrath, Feathers fly in first bird debate, BBC NEWS, SCIENCE & 
             ENVIRONMENT, 27 July 2011, 
2.     Lennart Kill, สร้างไดโนเสาร์ที่มีชีวิต...จากไก่ ?, นิตยสาร Science Illustrated, กรกฎาคม 2555

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 1 ฉบับที่ 1  ประจำเดือนสิงหาคม 2555