วันอังคาร, 05 พฤศจิกายน 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

ตัวเลขกับสัตว์โลก 2

 

               ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว คือเจ้าวาฬสีน้ำเงิน ซึ่งดำรงชีพในมหาสมุทรสุดลูกตา แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะพื้นปฐพี  มีใครหนอที่ครองความยิ่งใหญ่... เป็นใครไปไม่ได้นอกจากเจ้าช้างนี่เองครับ พอพูดถึงช้างทุกท่านก็คงต้องร้องอ๋อ แต่หลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจนักว่าช้างใดใหญ่สุด คำตอบ คือ ช้างแอฟริกาครับ โดยช้างแอฟริกานั้นสูงใหญ่ประมาณ 3.2 - 4 เมตร หนักราวๆ 6 ตัน (เฉลี่ยประมาณ 4.9 ตัน และหนักสุดได้ถึง 12.4 ตัน) ขณะที่ช้างเอเชียเราสูงใหญ่สุดได้ประมาณ 3.4 เมตร หนักราวๆ 5 ตัน และพอพูดถึงเรื่องช้างท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าปัจจุบันเราหลงเหลือช้างบนโลกอยู่เพียง 2 สกุลเท่านั้นนะครับ คือช้างแอฟริกาในสกุล Loxodonta และช้างเอเชียในสกุล Elephas และที่น่าสนใจในสถิติก็คือ ช้างในอดีตมีถึง 43  สกุล 174 ชนิด (มันหายไปไหนกันหมดครับ) นอกจากนั้นในบรรดา 43 สกุล ยังมีบางชนิดอย่างเจ้า Mammuthus sungari (ช้างแมมมอธซุงการิ) ที่สูงใหญ่ได้ถึง 5.3 เมตร (สูงประมาณใต้ราวสะพานลอยที่เราเดินข้ามกัน) ซึ่งถือเป็นสถิติความใหญ่โตสุดของเหล่าสัตว์งวงทั้งปวงด้วย

              ความใหญ่โตแม้จะทำให้ได้เปรียบในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความปลอดภัยจากเหล่านักล่า  แต่ก็เป็นข้อด้อยอย่างมากสำหรับการดำรงชีวิตให้อยู่รอดเมื่อเทียบกับปริมาณอาหารที่มีจำกัดและถิ่นที่อยู่อาศัยที่ถูกมนุษย์รุกล้ำมากขึ้น แม้กระทั่งสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้พืชพรรณที่เป็นแหล่งอาหารลดน้อยลง ทำให้ปริมาณสัตว์ใหญ่อย่างช้าง มีจำนวนน้อยลงด้วย จากสถิติในปี พ.ศ. 2550 พบว่าช้างป่าแอฟริกาทั่วโลกมี จำนวน 470,000 - 690,000 ตัว ส่วนช้างเอเชียมีจำนวน 60,000 ตัว คิดเป็นหนึ่งในสิบของประชากรช้างแอฟริกา โดยแยกเป็นช้างป่าประมาณ 41,410 - 52,345 ตัว และช้างเลี้ยงประมาณ 14,500 - 15,300 เชือก และอาจมีอีกราว 1,000 เชือก ที่อยู่กระจัดกระจายไปตามสวนสัตว์ทั่วโลก แม้ปัจจุบันที่หลายหน่วยงานพยายามอย่างยิ่งในการอนุรักษ์สัตว์ใหญ่อย่างช้างหรือแม้แต่วาฬสีน้ำเงิน  ทำให้ปริมาณช้างแอฟริกามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา แต่ช้างไทยกลับมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ จากการที่มนุษย์ได้รุกล้ำถิ่นที่อยู่อาศัยของช้าง ทำให้มีช้างป่าเหลืออยู่เพียง 2,800 ตัว และช้างเลี้ยงเพียง 1,200 เชือกเท่านั้น และเมื่อพิจารณาตัวเลขทั้งหมดแล้ว ถือว่าน่าเป็นห่วงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก  จากวิกฤติดังกล่าวทำให้กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund For Nature, WWF International) ได้ประกาศให้มีวันช้างโลกขึ้น เพื่อย้ำเตือนให้ผู้คนได้ตระหนักถึงเจ้าสัตว์ใหญ่แห่งไพรพงและหันมาร่วมกันอนุรักษ์ รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาคาใจระหว่างช้างกับคน จนเกิดการเข่นฆ่า โดยยึดเอาวันที่  12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันช้างโลก   เอ๊ะ!! ตัวเลขวันที่นี้คุ้นๆ  แฮ่ะ..ใช่แล้วครับ  วันแม่ของไทยเรานี่เอง หรือวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชินีของปวงชนชาวไทยนั่นเอง เหตุผลที่ใช้วันนี้ก็เนื่องจากพระองค์ท่านทรงตระหนักถึงปัญหาของช้าง ทั้งช้างป่าและช้างบ้านหรือช้างที่เดินตามท้องถนน และได้มีพระราชดำริให้คืนช้างสู่ป่า จนก่อเกิดมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติขึ้น และได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ช้างที่กลับเข้าสู่ป่ามีความสุขและตกลูกให้เห็นเป็นขวัญตา  WWF จึงไม่รอช้าก่อตั้งวันช้างโลกเพื่อเชิดชูพระเกียรติแด่พระองค์ท่านในบัดดล เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมานี่เอง และเรื่องราวที่เล่าขาน ก็คือ สถิติที่ได้จดจารไว้ในโลกอย่างน่าฉงน รอผู้คนค้นพบและลบสถิติ แต่ที่จะยังคงอยู่ก็คือพระบารมีของพระราชินีไทย ที่มีพระเมตตาต่อสัตว์โลก ให้คนทั้งโลกได้รับรู้พระเมตตาของพระองค์ท่านไปตราบนานแสนนาน  
                ฉบับนี้เนื้อที่มีจำกัด ขอลากันไปก่อน ครั้งต่อไปข้าพเจ้าจะขอเล่าเรื่องช้างต่อให้จุใจ (คนเขียน) นะคร้าบบบ....ฮ่าๆๆ

แหล่งอ้างอิง : 

1. ช้าง. http://th.wikipedia.org/wiki/ช้าง. 22 สิงหาคม 2555.
2. พระบารมีแผ่ไพศาล จากช้างไทยสู่ช้างโลก.http://www.thairath.co.th/  
          column/life/zoomzokzak/284424. 22 สิงหาคม 2555.
3. Elephant. http://en.wikipedia.org/wiki/Elephant#Asian_elephant. January 
           2010. Mammuthus sungari vs African elephant. 
           http://animalsversesanimals.yuku.com/topic/1170/Mammuthus-
           sungari-vs-African-elephant#.UDR0QKAwCxA. 

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 1 ฉบับที่ 3  ประจำเดือนตุลาคม 2555